เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนเรียงความ

วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557

เรียงความเรื่อง วัฒนธรรมของเรา
            วัฒนธรรม คือ ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชนและวัฒนธรรมเป็นวิถีแห่งชีวิตของมนุษย์ในส่วนร่วมที่ถ่ายทอดกันได้ เรียนกันได้ เอาอย่างกันได้ วัฒนธรรมจึงเป็นผลผลิตของส่วนร่วมที่มนุษย์ได้เรียนรู้กัน
            วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นอาจจะมีความแตกต่างกันหรือในบางท้องถิ่นอาจจะคล้ายคลึงกันมีการผสมผสานกันเพราะโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีการติดต่อกับโลกภายนอกต่างกลุ่มต่างชาติพันธุ์ต่างศาสนา วัฒนธรรมย่อมมีการรับและการถ่ายทอดซึ่งกันและกันจึงก่อให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมวัฒนธรรมของเราคืออาหารสถานที่ท่องเที่ยวภาษาในการสื่อสารและประเพณีต่างๆวัฒนธรรมด้านอาหารคือ อาหารพื้นบ้านของเรามีรสชาติโดด เด่นเป็นเอกลักษณ์ และอาหารพื้นบ้านของเราทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่าง อาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดูเป็นน้ำที่หมักจากปลา แล้วนำมาเคี่ยวปรุงรสให้ออกเค็มๆ หวานๆ นับเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ของชาวไทยมุสลิมทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ ส่วนใหญ่เข้ารับประทานกับข้าวยำและมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซียและด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์แต่สภาพอากาศร้อนชื้นฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัดช่วยให้ร่างกายอบอุ่นป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วยผักแกล้มนี้เป็นผักเพื่อช่วยบรรเทาความเผ็ดและเพื่อชูรสอาหารอาหารท้องถิ่นยังนิยมใส่ขมิ้นในอาหารนิยมรับประทานขนมจีนรองจากข้าวใส่เคยหรือกะปิเป็นเครื่องปรุงรสอาหารชาวไทยมุสลิมนิยมรับประทานกันและวัฒนธรรมด้านการท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะคือทะเลและน้ำตกที่อุดมสมบูรณ์สถานที่ท่องเที่ยวชมมัสยิดหรือวัดและสถานที่โบราณต่างๆทำให้มีคนที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมอย่างหลากหลายเดินทางเข้ามาบ้านเรามีทั้งชาว พุทธ ชาวมุสลิม ต่างเชื้อชาติกัน เช่น คนไทย คนจีน และผู้ที่มีเชื้อสายมาเลย์ รวมทั้ง ชาวเมืองวัฒนธรรมของเราจึงมีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นบ้านเราจึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเพราะมีภูมิศาสตร์ที่งดงามมีชายฝั่งทะเลและมีวัฒนธรรมหรือการดำรงชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีคือประเพณีชักพระเป็นประเพณีท้องถิ่นเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและวิถีชีวิตชาวใต้ที่มีความผูกพันกับน้ำประเพณีชักพระหรือลากพระจัดขึ้นในช่วงออกพรรษาโดยเฉพาะในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ด้วยความเชื่อว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาว ดึงลงมายังโลกมนุษย์จึงมีการจัดงานเพื่อแสดงความยินดีประชาชนจึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบกที่จัดเตรียมไว้ แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับส่วนใหญ่จะเป็นการจัดขบวนทางเรือแต่บริเวณใดที่ห่างไกลแม่น้ำก็จะจัดพิธีทางบกและวัฒนธรรมของการใช้ภาษาในการสื่อสารที่มีความต่างๆกันและเป็นคนนับถือต่างสาสนากัน                                         
            ปัจจุบันนี้ทุกคนก็ยังรักษาวัฒนธรรมของตนอย่างดีและรักวัฒนธรรมของตนที่ตนกำเนิดและหนูหวังว่าต่อไปนี้วัฒนธรรมของเราก็จะเติบได้กว้างขว้างขึ้นและมีความสมบูรณ์และมีความก้าวหน้าในเรื่องต่างๆของวัฒนธรรมวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สร้างประเทศชาติให้ดีขึ้นและสร้างอนาคตของลูกหลานในวันข้างหน้า       

           ชื่อด.ญ     ปาซีละห์         เต๊ะเด็ง     ชั้น   ม.2




    


เรียงความเรื่องวัฒนธรรมของเรา
คำว่า วัฒนธรรม  มาจากคำสองคำ คำว่า “วัฒน”  จากคำคำศัพท์  “วฑฒน”   ในภาษาบาลี  หมายถึงความเจริญส่วนคำว่า  ธรรม   มาจากคำศัพท์  “ธรม”   ในภาษา “สันสฤต”  หมายถึงความดี  เมื่อนำสองคำมารวมกันจึงได้คำว่า  วัฒนธรรม  หมายถึง  ความดีอันจะก่อให้เกิดความงอกงามที่เป็นระเบียบเรียบร้อย  และวัฒนธรรมโดยทั่วไปหมายถึงรูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ  วิถีการดำเนินชีวิตซึ่งพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน   และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นอาจมีความแตกต่างกัน  หรือในบางท้องถิ่น   อาจคล้ายคลึงกัน  มีการผสมผสานกัน  เพราะโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีการติดต่อกับโลกภายนอก  ต่างกลุ่ม  ต่างชาติพันธ์  ต่างศาสนา  จึงก่อให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม  สามารถแสดงออกผ่าน   ดนตรี  วรรณกรรม  จิตรกรรม   ประติมากรรม   การละครและภาพยนตร์   แม้บางครั้งอาจจะมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค  เช่น   วัฒนธรรมระดับสูง  วัฒนธรรมระดับต่ำ  วัฒนธรรมพื้นบ้าน  หรือวัฒนธรรมนิยม  เป็นต้น  แต่โดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า  มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค   แต่หมายรวมถึง กระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้นๆ   ด้วย  ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน  ในสายตาของนักมนุษย์วิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี  ศิลปะ  วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรมและส่วนวัฒนธรรมเกี่ยวกับอาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดด  เด่นเป็นเอกลักษณ์  เฉพาะเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย  จีนและชวาในอดีตทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติ  โดยเฉพาะอินเดียใต้ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้ข้ามามีอิทธิพลอย่างมากและอาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป  มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้  เช่น น้ำบูดู  ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ  และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารภาคใต้จึงมีรสชาติเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้าน  มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์  แต่สภาพอากาศร้อนชื้นฝนตกตลอดปี  อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้ม  จึงมีรสจัดช่วยให้ร่างกายอบอุ่นป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วยและส่วนการกินลักษณะเด่นของการรับประทานอาหารของชาวภาคใต้  คือ มีผักสารพัดชนิดเป็นผักจิ้มหรือผักแกล้มในการรับประทานอาหารทุกมื้อ  ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า  “ผักเหนาะ”   อาหารปักษ์ใต้จะเป็นอาหารที่อร่อย  น่าลิ้มลอง  แต่สิ่งหนึ่งที่ประทับใจผู้คน  คือความเผ็ดร้อนของรสชาติอาหารผู้คนนิยมรสอาหารที่เผ็ดจัด  เค็ม  เปรี้ยว  แต่ไม่นิยมรสหวาน  รสเผ็ดของอาหารปักษ์ใต้ และวัฒนธรรมเกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ได้รัอิทธิพลมาจากดินแดนใกล้เคียงหลายเชื้อชาติ  จนเกิดผสมผสานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากภาคอื่นๆ  โดยเฉพาะเน้นเรื่องลีลาที่เร่งเร้า  หนักแน่น เป็นต้น  เพลงพื้นบ้านเกิดจากชาวบ้านเป็นผู้สร้างบทเพลง  เป็นต้น
วัฒนธรรมปัจจุบันไม่มีประเทศชาติใดที่มีวัฒนธรรมบริสุทธิ์อย่างแท้จริง  แต่มีวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานมาจากความรู้ประสบการณ์ที่สังคมตกทอดมา  และจากวัฒนธรรมแหล่งอื่นที่เข้ามากับภูมิภาคอื่น  เช่น  การค้าขาย  การย้ายถิ่นฐาน   การสื่อสารมวลชนและศาสนา   การประกอบอาชีพอีกทั้งระบบความเชื่อ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติโดยตลอด